top of page

Implemented January 2020

ICF Code of Ethics

Code of Ethics.jpg

The ICF Code of Ethics describes the ICF core values, and ethical principles and ethical standards of behavior for all ICF Professionals.

ICF implemented the current version of the Code in January 2020.

จรรยาบรรณของ ICF อธิบายถึงค่านิยมหลักและหลักทางจริยธรรมและมาตรฐานจริยธรรมของพฤติกรรม
สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ICF ทุกคน

logo_vertical_1.jpg

 

หลักจริยธรรมของ ICF
(ICF Code of Ethics)

หลักจริยธรรมของ ICF ประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก

1. บทนํา
2. คําจํากัดความที่สําคัญ
3. ค่านิยมหลักและหลักการทางจริยธรรมของ ICF

4. มาตรฐานทางจริยธรรม

5. คําปฏิญาณ

1. บทนํา

หลักจริยธรรมของICFอธิบายถึงค่านิยมหลักของสหพันธ์โค้ชนานาชาติ(ค่านิยมหลักของ ICF) และหลักการทางจริยธรรมและมาตรฐานพฤติกรรมทางจริยธรรมสำหรับICF มืออาชีพทุกท่าน (ดูคําจํากัดความ) การปฏิบัติตามมาตรฐานพฤติกรรมทางจริยธรรมนี้เป็นสิ่งแรกของสมรรถนะหลักของ ICF Core Competencies ซึ่งคือ “การแสดงออกให้เห็นการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมซึ่งหมายถึงความเข้าใจและการถือปฎิบัติตามหลักจริยธรรมและมาตรฐานการโค้ชอย่างสม่ำเสมอ”

หลักจริยธรรมของ ICF ดำรงไว้ซึ่งความมุ่งมั่นในการรักษาความซื่อสัตย์ของ ICF และ วิชาชีพการโค้ชระดับสากลโดย

  • กําหนดมาตรฐานการปฏิบัติให้สอดคล้องกับค่านิยมหลักและหลักจริยธรรมของ ICF

  • ให้แนวทางการสะท้อนจริยธรรมการศึกษาและการตัดสินใจ

  • วินิฉัยและรักษามาตรฐานการโค้ชของICFผ่านกระบวนการทบทวนแนวทางปฏิบัติทางจริยธรรมหรือ ICF Ethical Conduct Review(ECR)ของ ICF

  • นำเสนอการฝึกอบรมจริยธรรมเบื้องต้นของICFสำหรับการรับรองหลักสูตรจากICF

หลักจริยธรรมของ ICF มีผลบังคับใช้กับโค้ชผู้ได้รับการรับรองจาก ICF ตลอดเวลาการโค้ช เช่น เริ่มตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับการโค้ช (โปรดดูคำจำกัดความ) และรวมถึงผู้ทําหน้าที่ในบทบาทต่างๆในการโค้ช เช่น โค้ช หัวหน้าโค้ช โค้ชพี่เลี้ยง วิทยากรหรือนักเรียนที่ฝึกเป็นโค้ช หรือผู้ที่รับบทบาทเป็นผู้นําของ ICF ตลอดจนบุคลากรสนับสนุน (Support Personal) ของ ICF (ดูคําจํากัดความ)

แม้ว่ากระบวนการทบทวนการปฏิบัติทางจริยธรรม (The Ethical Conduct Review หรือ ECR) ได้ถูกกำหนดให้ใช้บังคับกับผู้ที่ถูกเรียกว่า ICF มืออาชีพ (ICF Professional)เท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ของ ICF (ICF Staff) ก็ต้องพึงปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ค่านิยมหลักและหลักการทางจริยธรรมที่เป็นรากฐานของหลักจริยธรรมของ ICF นี้

ความท้าทายในการทํางานอย่างมีจริยธรรมหมายถึง การที่สมาชิกจะต้องปฎิบัติตนอย่างมีจริยธรรมแม้อาจต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องตอบสนองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อปัญหาที่ไม่คาดคิด หลักจริยธรรมนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนิน การภายใต้หลักจริยธรรมโดยมีแนวทางให้พวกเขาสามารถเข้าถึงปัจจัยทางจริยธรรมที่หลาก หลายซึ่งอาจต้องนําสู่การพิจารณาและการระบุวิธีแนวทางเลือกในการประพฤติตามหลักจริยธรรม

ICF มืออาชีพผู้ยอมรับหลักจริยธรรมเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะปฎิบัติด้วยจริยธรรมแม้ว่าจะมีความยาก ลำบากในการตัดสินใจ หรือต้องใช้ความกล้าหาญเพื่อการกระทำนั้นๆ

2. คําจํากัดความที่สําคัญ

  • “ลูกค้า”(Client) หมายถึงบุคคล ทีมหรือกลุ่มผู้ได้รับการโค้ช โค้ชที่ได้รับคำแนะนำหรือการดูแลหรือโค้ชหรือนักเรียนผู้ฝึกการโค้ช

  • “การโค้ช”(Coaching) หมายถึงทำงานร่วมกันของโค้ชและผู้รับการโค้ชเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนความคิดอย่างสร้างสรรค์และเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาใช้ศักยภาพของเขาอย่างเติมที่ทั้งเพื่อชีวิตส่วนตัวและชีวิตงาน

  • “ความสัมพันธ์ในการโค้ช”(Coaching Relationship) หมายถึงความสัมพันธ์ที่ถูกสร้างขึ้นโดย ICF มืออาชีพและผู้รับการโค้ชหรือผู้เป็นเจ้าของโครงการ(Sponsor) ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาที่กําหนดความรับผิดชอบและความคาดหวังของแต่ละฝ่าย

  • “หลักปฏิบัติ” (Code) หมายถึง หลักปฏิบัติหลักจริยธรรมของICF

  • “การรักษาความลับ”(Confidential) หมายถึงการปกป้องรักษาข้อมูลใดๆ ที่ได้รับจากการโค้ชเว้นแต่จะได้รับความยินยอมให้เผยแพร่

  •  “ความขัดแย้งทางผลประโยชน์”(Conflict of Interest) หมายถึง สถานการณ์ที่ ICF มืออาชีพมีส่วนรวมในผลประโยชน์หลายอย่างและผลประโยชน์อย่างหนึ่งอาจขัดแย้งกับผลประโยชน์อื่นซึ่งอาจหมายถึง ผลประโยชน์ทางการเงิน ผลประโยชน์ส่วนบุคคลหรืออื่นๆ

  •  “ความเท่าเทียมกัน”(Equality) หมายถึง สถานการณ์ที่ทุกคนพึงได้รับเหมือนกันในสถานการณ์หนึ่งๆ ซึ่งรวมถึง การเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสต่างๆโดยไม่คํานึงถึงเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ชาติกําเนิด สีผิว เพศรสนิยมทางเพศเอกลักษณะทางเพศ อายุ ศาสนา สถานภาพการเข้าประเทศ ความพิการทางจิตใจหรือร่างกาย และความแตกต่างอื่นๆ

  • “ICF มืออาชีพ”(ICF Professional) หมายถึง บุคคลที่แสดงตนเองในฐานะสมาชิกICFหรือผู้ได้รับรองการเป็นโค้ชจาก ICF หรือผู้อยู่ในบทบาทที่เกี่ยวข้อง โดยไม่จํากัดเฉพาะโค้ช, หัวหน้าโค้ช, โค้ชพี่เลี้ยง, โค้ชผู้ฝึกสอนและนักเรียนฝึกการโค้ช

  • “พนักงานของ ICF”(ICF Staff)  หมายถึง บุคลากรผู้ได้รับการสนับสนุนจากICF ซึ่งรวมถึงบุคคลและบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างเพื่อให้การบริการด้านการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพในนามของICF

  • “โค้ชภายใน”(Internal Coach) หมายถึง บุคคลที่ทํางานภายในองค์กรและทำหน้าที่โค้ชพนักงานขององค์กรนั้นทั้งที่เป็นพนักงานนอกเวลาหรือเต็มเวลา

  • “ผู้สนับสนุน”(Sponsor) หมายถึง นิติบุคคล(รวมถึงตัวแทนขององค์กร)ที่จ่ายเงินเพื่อ และ/หรือจัดการหรือกําหนดให้มีโครงการการโค้ช

  • “พนักงานสนับสนุน”(Support Personnel) หมายถึง ผู้ที่ทํางานให้ICF มืออาชีพ เพื่อการบริการลูกค้า

  • “ความเท่าเทียมกันในเชิงระบบ”(Systematic Equality) หมายถึง ความเท่าเทียมกันของอายุ เชื่อชาติหรือในรูปแบบอื่นๆ ที่ซึ่งทําให้เป็นขนบธรรมเนียมที่มีจริยธรรม ค่านิยมหลัก นโยบายโครงสร้างและวัฒนธรรมของชุมชน องค์กร ประเทศและสังคม

3. ค่านิยมหลักและหลักการทางจริยธรรมของ ICF (ICF Core Values and Ethical Principles)

หลักจริยธรรมของ ICF นั้นยึดตามค่านิยมหลักของ ICF และการกระทําที่เกิดขึ้นจากค่านิยมหลัก  ทั้งนี้ทุกค่านิยมนั้นมีความสําคัญเท่าเทียมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งค่านิยมเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจและควรนำไปใช้เป็นวิธีการทําความเข้าใจและให้ความหมายของความเป็นมาตรฐาน  โดย ICF มืออาชีพทุกท่านได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นผู้แสดงออกและเผยแพร่ค่านิยมเหล่านี้ในทุกกิจกรรม

4. มาตรฐานทางจริยธรรม (Ethical Standard)

มาตรฐานทางจริยธรรมต่อไปนี้มีผลบังคับใช้ในกิจกรรมต่างๆของผู้เชี่ยวชาญของICF

ส่วนที่ 1 – ความรับผิดชอบต่อลูกค้า (Responsibility to clients)

ในฐานะ ICF มืออาชีพ ฉันจะ

1. อธิบายและสร้างความมั่นใจก่อนการโค้ชหรือในช่วงเริ่มต้นของการโค้ชว่าลูกค้าและผู้สนับ สนุน เข้าใจลักษณะและคุณค่าของการโค้ช แนวทางและข้อจํากัดของการรักษาความลับ การจัดการทางการเงิน และข้อกําหนดอื่นๆของข้อตกลงในการโค้ช

2. สร้างข้อตกลงหรือสัญญาว่าด้วยบทบาท ความรับผิดชอบและสิทธิของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าและผู้สนับสนุนก่อนที่จะเริ่มให้บริการ

3. รักษาความลับอย่างเข้มงวดที่สุดกับทุกฝ่ายตามที่ตกลงกัน ฉันรับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลและการสื่อสาร

4. ทำความเข้าใจให้ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของโครงการการโค้ชทั้งหมด

5. ทำความเข้าใจให้ชัดเจนกับทั้งลูกค้าและผู้สนับสนุนหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเงื่อนไขภายใต้ข้อมูลที่อาจจะถูกเปิดเผย (เช่นกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหากจําเป็นต้องใช้ตามกฎหมาย ตามคําสั่งศาลหรือหมายศาลที่ถูกต้องเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ฯลฯ) ในกรณีที่ฉันเชื่ออย่างสมเหตุ สมผลว่าสถานการณ์ข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายฉันอาจต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตาม ความเหมาะสม

6. เมื่อทํางานเป็นโค้ชภายใน จะจัดการกับความขัดแย้งหรือโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้า และผู้สนับสนุน จากข้อตกลงการโค้ชและการสนทนาที่ดําเนินอยู่ซึ่งรวม ถึงการระบุบทบาทในการจัดการ ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์การบันทึก ความลับและข้อกําหนดการรายงานอื่นๆ

7. รักษา จัดเก็บและละทิ้งบันทึกใด ๆ รวมถึงไฟล์อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารที่สร้างขึ้นในระหว่างการโค้ชของฉันในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อรักษาความลับ ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อตกลงต่างๆนอกจากนี้ฉันพยายามที่จะใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่และที่มีความนิยมใช้ในการให้บริการการโค้ช (การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการให้การบริการการโค้ช) และตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้เหมาะสมกับมาตรฐานทางจริยธรรม

8. เตรียมพร้อมอยู่เสมอถึงข้อบ่งชี้ว่า คุณค่าที่ได้รับจากความสัมพันธ์ในการโค้ชอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจะทําการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์หรือสนับสนุนให้ลูกค้าหรือผู้สนับสนุนค้นหาโค้ช หรือผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น หรือการใช้ทรัพยากรอื่นๆ

9. เคารพสิทธิ์ของทุกฝ่ายในการยุติความสัมพันธ์ในการโค้ช ณ จุดใดๆ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ในระหว่างกระบวนการโค้ช ภายใต้บทบัญญัติของข้อตกลง

10. ให้ความละเอียดอ่อนกับการที่มีข้อตกลงและความสัมพันธ์ในการโค้ชกับลูกค้าหลายคน ซึ่งอาจมีผู้สนับสนุนรายเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

11. ตระหนักและจัดการอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิหรือสถานะที่แตกต่างระหว่างลูกค้าและโค้ช ที่อาจมีประเด็นด้านวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ จิตวิทยาหรือบริบทต่างๆ

12. เปิดเผยกับลูกค้า เกี่ยวการรับเงินชดเชยและผลประโยชน์อื่นๆ ที่ฉันอาจได้รับจากการแนะนําลูกค้าของฉันไปยังบุคคลที่สาม

 

13. สร้างความมั่นใจในคุณภาพของการโค้ชอย่างสม่ำเสมอโดยไม่คํานึงถึงจํานวนหรือรูปแบบของค่าตอบแทนตามที่ตกลงในความสัมพันธ์ใดๆ

 

ส่วนที่ 2 ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติและประสิทธิภาพ (Responsibility to practice and performance)

ในฐานะ ICF มืออาชีพ ฉันจะ

14. ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของ ICF ในทุกกิจกรรม และเมื่อฉันตระหนักถึงความเป็นไปได้ที่จะฝ่าฝืนจริยธรรมด้วยตนเองหรือพบพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมของ ICF มืออาชีพท่านอื่น ฉันจะชี้แจงประเด็นนั้นกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างสุภาพซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขประเด็นนี้ได้ ฉันจะส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานที่มีสิทธิ์ในการจัดการ (เช่น ICF สากล) เพื่อแก้ไขปัญหา

15. จะยึดมั่นหลักจริยธรรมของ ICF ด้วยการให้บุคลากรที่สนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมดปฏิบัติตามหลักการ

16. มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศด้วยการพัฒนาส่วนบุคคล ความเชี่ยวชาญและจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง

17. ตระหนักถึงข้อจํากัดหรือสถานการณ์ส่วนบุคคลของฉันที่อาจทําให้เสียเปรียบขัดแย้งหรือแทรกแซงประสิทธิภาพการโค้ชหรือความสัมพันธ์ของวิชาชีพการเป็นโค้ช ฉันจะหาแนวทางสนับสนุนเพื่อการตัดสินใจการดําเนินการ และหากจําเป็น จะหาข้อมูล คำแนะนำทางจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทันที ซึ่งอาจรวมถึงแนวทางการระงับหรือยกเลิกความสัมพันธ์ในการโค้ชของฉัน

 

18. แก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือแนวโน้มที่จะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

โดยร่วมมือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือระงับความสัมพันธ์ทางวิชาชีพชั่วคราวหรือยุติความสัมพันธ์ทางวิชาชีพในทันที

19. รักษาความเป็นส่วนตัวของสมาชิก ICF และใช้ข้อมูลติดต่อสมาชิก ICF (ที่อยู่อีเมลล์หมายเลขโทรศัพท์และอื่นๆ) ตามที่ได้รับอนญุาตจาก ICF หรือสมาชิก ICF

 

ส่วนที่ 3 ความรับผิดชอบต่อความเป็นมืออาชีพ (Responsibility to professionalism)

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญของ ICF ฉันจะ

20. ระบุคุณสมบัติการโค้ชของฉัน ระดับความสามารถในการโค้ช ความเชี่ยวชาญ

ประสบการณ์ การฝึกอบรม ใบรับรองและข้อมูลการรับรองของ ICF อย่างถูกต้อง

21. ให้ข้อมูลด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรที่เป็นจริงและถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งที่ฉันเสนอในฐานะ  ICF มืออาชีพและสิ่งที่ ICF เสนอให้ทั้งในด้านวิชาชีพการโค้ชและคุณค่าของการโค้ช

22. สื่อสารและสร้างความตระหนักกับผู้ที่จําเป็นต้องได้รับแจ้งเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางจริยธรรมที่กําหนดโดยหลักจริยธรรมนี้

23. มีความรับผิดชอบในการรับรู้และกําหนดขอบเขตที่ชัดเจนเหมาะสมของความละเอียด อ่อนทางวัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านปฏิสัมพันธ์ด้านทางกายภาพหรืออื่นๆ

24. ไม่มีส่วนร่วมในการเกี่ยวข้องทางเพศหรือมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับลูกค้าหรือผู้สนับสนุน ฉันจะคํานึงถึงระดับความสนิทสนมที่เหมาะสมกับความสัมพันธ์ทั้งนี้ฉันจะดําเนินการตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาหรือยกเลิกการมีส่วนร่วมที่เกียวข้องนั้นๆ

 

ส่วนที่ 4 –ความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsibility to society)

ในฐานะ ICF มืออาชีพ ฉันจะ

25. หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติโดยรักษาความเป็นธรรมและความเสมอภาคในทุกกิจกรรมและการดําเนินงาน เช่นเดียวกับการให้ความเคารพกฎระเบียบของท้องถิ่นและวัฒนธรรม ซึ่งหมายรวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของอายุ เผ่าพันธุ์ การแสดงออกทางเพศ ชาติพันธุ์ รสนิยมทางเพศ ศาสนา เชื้อชาติ ความพิการหรือสถานะทางทหาร


26. รับรู้และให้เกียรติผลงานและทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น โดยจะอ้างสิทธิ์ความเป็น

เจ้าของของเนื้อหาของตัวเองเท่านั้น ฉันเข้าใจว่าการละเมิดมาตรฐานนี้อาจทําให้ฉันถูกดําเนิน การตามกฎหมายโดยบุคคลที่สาม


27. เป็นคนซื่อสัตย์และทํางานภายใต้การยอมรับทางวิทยาศาสตร์ หลักเกณฑ์และขอบเขต

ความสามารถของฉัน ในการดําเนินการและรายงานการวิจัย

28. ตระหนักถึงผลกระทบของฉันและลูกค้าที่มีต่อสังคม ฉันยึดมั่นในปรัชญาของการ"ทําดี"

และ "หลีกเลี่ยงการทําไม่ดี"    

 

5. คําปฏิญาณหลักจริยธรรมของ ICF มืออาชีพ (The Pledge of Ethics of the ICF Professional)

ในฐานะ ICF มืออาชีพ ในการดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานหลักจริยธรรมของ ICF ฉันรับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดทางจริยธรรมและทางกฎหมายต่อลูกค้าผู้สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน และสาธารณชนโดยรวม

 

หากฉันฝ่าฝืนส่วนหนึ่งส่วนใดของหลักจริยธรรมของ ICF ฉันยอมรับว่า ICF สามารถกำหนดให้ฉันแสดงความรับผิดชอบนั้นๆ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ICF แต่เพียงผู้เดียวและฉันยอมรับว่าการรับผิดชอบต่อ ICF สําหรับการฝ่าฝืนใดๆ อาจต้องชดเชยความผิด เช่นการฝึกอบรมการโค้ชภาคบังคับหรือการศึกษาเพิ่มเติมอื่นๆหรือการสูญเสียสมาชิกภาพจากการเป็นสมาชิกและ/ หรือการหมดสภาพการรับรองสถานะ ICF ของฉัน

logo_vertical_1.jpg

 

Code of Ethics

The ICF Code of Ethics is composed of five main parts:

  1. Introduction

  2. Key Definitions

  3. ICF Core Values and Ethical Principles

  4. Ethical Standards

  5. Pledge
     

1. Introduction

The ICF Code of Ethics describes the core values of the International Coach Federation (ICF Core Values), and ethical principles and ethical standards of behavior for all ICF Professionals (see definitions). Meeting these ICF ethical standards of behavior is the first of the ICF core coaching competencies (ICF Core Competencies). That is “Demonstrates ethical practice: understands and consistently applies coaching ethics and standards.”

The ICF Code of Ethics serves to uphold the integrity of ICF and the global coaching profession by:

  • Setting standards of conduct consistent with ICF core values and ethical principles.

  • Guiding ethical reflection, education, and decision-making

  • Adjudicating and preserving ICF coach standards through the ICF Ethical Conduct Review (ECR) process

  • Providing the basis for ICF ethics training in ICF-accredited programs
     

The ICF Code of Ethics applies when ICF Professionals represent themselves as such, in any kind of coaching-related interaction. This is regardless of whether a coaching Relationship (see definitions) has been established. This Code articulates the ethical obligations of ICF Professionals who are acting in their different roles as coach, coach supervisor, mentor coach, trainer or student coach-in-training, or serving in an ICF Leadership role, as well as Support Personnel (see definitions).
 

Although the Ethical Conduct Review (ECR) process is only applicable to ICF Professionals, as is the Pledge, the ICF Staff are also committed to ethical conduct and the Core Values and Ethical Principles that underpin this ICF code of ethics.

The challenge of working ethically means that members will inevitably encounter situations that require responses to unexpected issues, resolution of dilemmas and solutions to problems. This Code of Ethics is intended to assist those persons subject to the Code by directing them to the variety of ethical factors that may need to be taken into consideration and helping to identify alternative ways of approaching ethical behavior.
 

ICF Professionals who accept the Code of Ethics strive to be ethical, even when doing so involves making difficult decisions or acting courageously.

2. Key Definitions

  • “Client”—the individual or team/group being coached, the coach being mentored or supervised, or the coach or the student coach being trained.

  • “Coaching”—partnering with Clients in a thought-provoking and creative process that inspires them to maximize their personal and professional potential.

  • “Coaching Relationship”—a relationship that is established by the ICF Professional and the Client(s)/Sponsor(s) under an agreement or a contract that defines the responsibilities and expectations of each party.

  • “Code”—ICF Code of Ethics

  • “Confidentiality”—protection of any information obtained around the coaching engagement unless consent to release is given.

  • “Conflict of Interest”—a situation in which an ICF Professional is involved in multiple interests where serving one interest could work against or be in conflict with another. This could be financial, personal or otherwise.

  • “Equality”—a situation in which all people experience inclusion, access to resources and opportunity, regardless of their race, ethnicity, national origin, color, gender, sexual orientation, gender identity, age, religion, immigration status, mental or physical disability, and other areas of human difference.

  • “ICF Professional”—individuals who represent themselves as an ICF Member or ICF Credential-holder, in roles including but not limited to Coach, Coach Supervisor, Mentor Coach, Coach Trainer, and Student of Coaching

  • “ICF Staff”— the ICF support personnel who are contracted by the managing company that provides professional management and administrative services on behalf of ICF.

  • “Internal Coach”— an individual who is employed within an organization and coaches either part-time or full-time the employees of that organization.

  • “Sponsor”—the entity (including its representatives) paying for and/or arranging or defining the coaching services to be provided.

  • “Support Personnel”—the people who work for ICF Professionals in support of their Clients.

  • “Systemic equality”—gender equality, race equality and other forms of equality that are institutionalized in the ethics, core values, policies, structures, and cultures of communities, organizations, nations and society.
     

3. ICF Core Values and Ethical Principles

The ICF Code of Ethics is based on the ICF Core Values and the actions that flow from them. All values are equally important and support one another. These values are aspirational and should be used as a way to understand and interpret the standards. All ICF Professionals are expected to showcase and propagate these Values in all their interactions.
 

4. Ethical Standards

The following ethical standards are applied to the professional activities of ICF Professionals:
 

Section I—Responsibility to Clients

As an ICF Professional, I:
1. Explain and ensure that, prior to or at the initial meeting, my coaching Client(s) and Sponsor(s) understand the nature and potential value of coaching, the nature and limits of confidentiality, financial arrangements, and any other terms of the coaching agreement.

2. Create an agreement/contract regarding the roles, responsibilities and rights of all parties involved with my Client(s) and Sponsor(s) prior to the commencement of services.

3. Maintain the strictest levels of confidentiality with all parties as agreed upon. I am aware of and agree to comply with all applicable laws that pertain to personal data and communications.

4. Have a clear understanding about how information is exchanged among all parties involved during all coaching interactions.

5. Have a clear understanding with both Clients and Sponsors or interested parties about the conditions under which information will not be kept confidential (e.g., illegal activity, if required by law, pursuant to valid court order or subpoena; imminent or likely risk of danger to self or to others; etc.). Where I reasonably believe one of the above circumstances is applicable, I may need to inform appropriate authorities.

6. When working as an Internal Coach, manage conflicts of interest or potential conflicts of interest with my coaching Clients and Sponsor(s) through coaching agreement(s) and ongoing dialogue. This should include addressing organizational roles, responsibilities, relationships, records, confidentiality and other reporting requirements.

7. Maintain, store and dispose of any records, including electronic files and communications, created during my professional interactions in a manner that promotes confidentiality, security and privacy and complies with any applicable laws and agreements. Furthermore, I seek to make proper use of emerging and growing technological developments that are being used in coaching services (technology-assisted coaching services) and be aware how various ethical standards apply to them.

8. Remain alert to indications that there might be a shift in the value received from the coaching relationship. If so, make a change in the relationship or encourage the Client(s)/Sponsor(s) to seek another coach, seek another professional or use a different resource.

9. Respect all parties’ right to terminate the coaching relationship at any point for any reason during the coaching process subject to the provisions of the agreement.

10. Am sensitive to the implications of having multiple contracts and relationships with the same Client(s) and Sponsor(s) at the same time in order to avoid conflict of interest situations.

11. Am aware of and actively manage any power or status difference between the Client and me that may be caused by cultural, relational, psychological or contextual issues.

12. Disclose to my Clients the potential receipt of compensation, and other benefits I may receive for referring my Clients to third parties.

13. Assure consistent quality of coaching regardless of the amount or form of agreed compensation in any relationship.

Section II—Responsibility to Practice and Performance

As an ICF Professional, I:

14. Adhere to the ICF Code of Ethics in all my interactions. When I become aware of a possible breach of the Code by myself or I recognize unethical behavior in another ICF Professional, I respectfully raise the matter with those involved. If this does not resolve the matter, I refer it to a formal authority (e.g., ICF Global) for resolution.

15. Require adherence to the ICF Code of Ethics by all Support Personnel.

16. Commit to excellence through continued personal, professional and ethical development.

17. Recognize my personal limitations or circumstances that may impair, conflict with or interfere with my coaching performance or my professional coaching relationships. I will reach out for support to determine the action to be taken and, if necessary, promptly seek relevant professional guidance. This may include suspending or terminating my coaching relationship(s).

18. Resolve any conflict of interest or potential conflict of interest by working through the issue with relevant parties, seeking professional assistance, or suspending temporarily or ending the professional relationship.

19. Maintain the privacy of ICF Members and use the ICF Member contact information (email addresses, telephone numbers, and so on) only as authorized by ICF or the ICF Member.

Section III—Responsibility to Professionalism

As an ICF Professional, I:

20. Identify accurately my coaching qualifications, my level of coaching competency, expertise, experience, training, certifications and ICF Credentials.

21. Make verbal and written statements that are true and accurate about what I offer as an ICF Professional, what is offered by ICF, the coaching profession, and the potential value of coaching.

22. Communicate and create awareness with those who need to be informed of the ethical responsibilities established by this Code.

23. Hold responsibility for being aware of and setting clear, appropriate and culturally sensitive boundaries that govern interactions, physical or otherwise.

24. Do not participate in any sexual or romantic engagement with Client(s) or Sponsor(s). I will be ever mindful of the level of intimacy appropriate for the relationship. I take the appropriate action to address the issue or cancel the coaching engagement.

Section IV—Responsibility to Society

As an ICF Professional, I:

25. Avoid discrimination by maintaining fairness and equality in all activities and operations, while respecting local rules and cultural practices. This includes, but is not limited to, discrimination on the basis of age, race, gender expression, ethnicity, sexual orientation, religion, national origin, disability or military status.

26. Recognize and honor the contributions and intellectual property of others, only claiming ownership of my own material. I understand that a breach of this standard may subject me to legal remedy by a third party.

27. Am honest and work within recognized scientific standards, applicable subject guidelines and boundaries of my competence when conducting and reporting research.

28. Am aware of my and my clients’ impact on society. I adhere to the philosophy of “doing good,” versus “avoiding bad.”

5. The Pledge of Ethics of the ICF Professional

As an ICF Professional, in accordance with the Standards of the ICF Code of Ethics, I acknowledge and agree to fulfill my ethical and legal obligations to my coaching Client(s), Sponsor(s), colleagues and to the public at large.

If I breach any part of the ICF Code of Ethics, I agree that the ICF in its sole discretion may hold me accountable for so doing. I further agree that my accountability to the ICF for any breach may include sanctions, such as mandatory additional coach training or other education or loss of my ICF Membership and/or my ICF Credentials.

For more information on the Ethical Conduct Review Process including the links to file a complaint, please click the button below.

bottom of page